แผงโซล่าเซลล์
โซล่าเซลล์ ( Solar cell )
แผงโซล่าเซลล์
แผงโซล่าเซลล์ คืออะไรคิดว่าหลายๆคน คงรู้จักกันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งแน่นอนเราทุกคนทราบกันดีว่าประโยชน์ของโซล่าเซลล์มันมีมากมายมหาศาล
สามารถผลิตไฟฟ้าให้กับคุณได้ไม่จำกัด คุณสามารถนำไฟฟ้าที่ได้ไปใช้งานภายในบ้าน ใช้ในไร่ในสวนของคุณ ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือใช้ในการลงทุนได้ตามที่ต้องการ
แต่สิ่งที่ทำให้คุณไม่กล้าที่จะลงทุนกับแผงโซล่าเซลล์ คือ คุณคิดว่ามันยุ่งยากซับซ้อน และ คนส่วนใหญ่ก็คิดว่ามันเป็นการลงทุนที่สูงเกินไป แต่ถ้าหากคุณลองคำนวณดูดี ๆ
คุณจะพบว่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์นั้น จะสามารถช่วยคุณประหยัดค่าไฟฟ้าลงไปได้มากมายต่อเดือน และคุณสามารถได้รับกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ใช้ไปอีกยาวนานหลายปี ดังนั้นเพื่อให้คุณเปลี่ยนความคิด ในบทความนี้จะทำการรวบรวมเอาข้อมูลต่าง ๆ ของ “แผงโซล่าเซลล์” มาให้คุณได้ลองศึกษากัน
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ แผงโซล่าเซลล์ กันก่อน
โซล่าเซลล์ ( Solar Cell ) ถือเป็นพลังงานที่สะอาด โดยจะทำการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในกระบวนการต่าง ๆ
จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเลย อย่างไฟโซล่าเซลล์ ที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ในตัวของมันเอง ซึ่งพลังงานจาก โซล่าเซลล์ ( Solar Cell ) จะไม่มีการปล่อยก๊าสที่เป็นของเสียเหมือนกับการผลิตพลังงานอื่น ๆ อย่าง น้ำมัน ไฟฟ้า ถ่านหิน หรืออื่น ๆ
ดังนั้น แผงโซล่าเซลล์ ( Solar panel ) ก็คือการรวมกับของโซล่าเซลล์หลาย ๆ เซลล์ มาต่อวงจรเชื่อมกันเป็นแผงขนาดใหญ่
เพื่อที่มันจะสามารถรับแสงอาทิตย์ได้มากยิ่งขึ้น และสามารถผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้นเช่นกัน โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรงแผงโซล่าเซลล์ ในปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ 2 ชนิด
1. โมโนคริสตัลไลน์ ( Monocrystalline Silicon Solar Cells )
แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ ผลิตจากซิลิคอนที่บริสุทธิ์ผลึกเดี่ยว ผ่านกระบวกการต่าง ๆ ที่เรียกว่า การดึงผลึก (Czochralski)
เพื่อกวนให้ผลึกรวมอยู่ที่แกนกลางออกมาเป็นแท่งทรงกระบอก จากนั้นนำมาตัดให้เป็นแผ่น โดยจุดสังเกตุของ แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ จะมีการตัดลบมุมออกทั้ง 4 มุม เพื่อที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นไปอีก
และการที่ใช้ซิลิคอนเกรดที่มีคุณภาพสูงที่สุด และใช้ในปริมาณมากนั้น ส่งผลให้แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์มีราคาสูงที่สุด แลกมากับอายุการใช้งานที่ยาวนาน ผลิตกระแสไฟฟ้าช่วยที่มีแสงน้อยได้ดีที่สุด และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าแบบอื่น ๆ
ทำให้ใช้พื้นที่น้อยกว่าชนิดอื่น ๆ
2. โพลีคริสตัลไลน์ ( Polycrystalline Silicon Solar Cells )
แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ ผลิตจากซิลิคอนที่มีการนำมาหลอมละลายและเข้ารูป ด้วยวิธีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน รวดเร็ว และมีการใช้ ซิลิคอน น้อยกว่า
แต่ด้วยวิธีนี้โครงสร้างที่ได้จะมีผลึกที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในแบบแรก ทั้งหมดนี้จึงส่งผลให้ แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีมีราคาประหยัดกว่า แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโน
ระบบการใช้งานของ แผงโซล่าเซลล์ ( Solar panel )
โซล่าเซลล์
โคมไฟถนนโซล่าเซลล์
โคมไฟถนนโซล่าเซลล์
อินเวอร์เตอร์
1. ระบบออนกริด ( On Grid System )
เป็นระบบโซล่าเซลล์ ที่จะทำการต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าปกติภายในบ้าน โดยจะมี แผงโซลาร์เซลล์ ที่มีหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า จ่ายไฟให้กับ กริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter)
ที่ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้า จากไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จาก โซล่าเซลล์ ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ตามบ้านเรือน เพื่อใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น พัดลม, ทีวี, ตู้เย็น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ
สำหรับวิธีนี้จะไม่มีแบตเตอรี่สำหรับเก็บกระแสไฟ ทำให้มันเป็นวิธีที่มีต้นทุนประหยัดกว่า เหมาะสำหรับบ้านที่มีระบบกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าอยู่แล้ว
2. ระบบออฟกริด ( Off Grid System )
เป็นระบบที่แผงโซล่าเซลล์รับพลังงานมาส่งต่อไปยังคอนโทรลชาร์จ เพื่อชาร์จเข้าแบตเตอรี่ไปเก็บไว้ก่อน เมื่อจะใช้งานกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งต่อไปยังอินเวอร์เตอร์
เพื่อแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งระบบนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งต่างจากระบบแรกที่คุณจำเป็นจะต้องมีระบบไฟฟ้าอยู่ก่อนถึงจะทำงานได้
โดยระบบออฟกริดนั้น คุณต้องเริ่มจากการคำนวณหาปริมาณที่คุณต้องการใช้ก่อน เพื่อหาขนาดที่เหมาะสมของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้ง แผงโซลล่าเซลล์ แบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์
หรือคอนโทรลชาร์จ เพื่อให้คุณมีปริมาณไฟฟ้าที่เพียงพอสำหรับการใช้งาน โดยวิธีนี้จะมีต้นทุนที่สูงกว่าในแบบแรก เนื่องจากมีอุปกรณ์เพิ่มขึ้น โดยระบบออฟกริด (Off Grid System)
จะมีส่วนประกอบของระบบ 4 ส่วน ดังนี้
แผงโซล่าเซลล์ ( Solar Cell Panel ) คือ อุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ และเปลี่ยนให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรงส่งต่อไปยังโซล่าชาร์จเจอร์
โซล่าชาร์จเจอร์ ( Solar Charge Controller ) คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ควบคุมการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ โดยจะรับกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ นำไปชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ ( Battery ) เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บกระแสไฟฟ้า จากแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถผลิตได้ในแต่ละวัน
อินเวอร์เตอร์ (Power Inverter ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแบตเตอรี่ ซึ่งจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
220 V หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ แปลงให้เป็นไฟฟ้าปกติที่ใช้กันตามบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งแต่ละอุปกรณ์จะมีขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งคุณต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกันทุกส่วน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและเพื่อให้การใช้งานยาวนานยิ่งขึ้น
ดังนั้นเราจึงมีวิธีการคำนวณเบื้องต้นมาฝากกัน เพื่อที่คุณจะสามารถมองหาอุปกรณ์ที่มันเหมาะสมกันได้อย่างง่ายดาย